ความหมายของอินเตอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่
ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก
โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (Protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลายๆ
ทาง อาทิเช่น อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่างๆ
รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้
ความสำคัญของอินเทอร์เน็ต
ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีบทบาทและมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเราเป็นอย่างมาก
เพราะทำให้วิถีชีวิตเราทันสมัยและทันเหตุการณ์อยู่เสมอ
เนื่องจากอินเทอร์เน็ตจะมีการเสนอข้อมูลข่าวปัจจุบัน และสิ่งต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้นให้ผู้ใช้ทราบเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน
สารสนเทศที่เสนอในอินเทอร์เน็ตจะมีมากมายหลายรูปแบบเพื่อสนองความสนใจและความต้องการของผู้ใช้ทุกกลุ่ม
อินเทอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งสารสนเทศสำคัญสำหรับทุกคนเพราะสามารถค้นหาสิ่งที่ตนสนใจได้ในทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปค้นคว้าในห้องสมุด หรือแม้แต่การรับรู้ข่าวสารทั่วโลกก็สามารถอ่านได้ในอินเทอร์เน็ตจากเว็บไซต์ต่าง
ๆ ของหนังสือพิมพ์
ดังนั้นอินเทอร์เน็ตจึงมีความสำคัญกับวิถีชีวิตของคนเราในปัจจุบันเป็นอย่างมากในทุก
ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่อยู่ในวงการธุรกิจ การศึกษา ต่างก็ได้รับประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตด้วยกันทั้งนั้น
1. ด้านการศึกษา อินเทอร์เน็ตมีความสำคัญ
ดังนี้
1.1. สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล
ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่น ๆ
ที่น่าสนใจ
1.2. ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
จะทำหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
1.3. นักเรียนนักศึกษาสามารถใช้อินเทอร์เน็ตติดต่อกับมหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนอื่น
ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็นข้อความเสียง
ภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ
2. ด้านธุรกิจและการพาณิชย์
อินเทอร์เน็ตมีความสำคัญ ดังนี้
2.1. ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ
2.2. สามารถซื้อขายสินค้า ทำธุรกรรมผ่านระบบเครือข่าย
2.3. เป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์ โฆษณาสินค้า
ติดต่อสื่อสารทางธุรกิจ
2.4.
ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ
และสนับสนุนลูกค้าของตนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ
สอบถามปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware) โปรแกรมแจกฟรี (Freeware)
การทำงานของอินเทอร์เน็ต
การสื่อสารข้อมูลด้วยอินเทอร์เน็ตจะมีโปรโตคอล
(Protocol) ซึ่งเป็นระเบียบวิธีการสื่อสารที่เป็นมาตรฐานของการเชื่อมต่อกำหนดไว้
โปรโตคอลที่เป็นมาตรฐานสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คือ TCP/IP
(Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะต้องมีหมายเลขประจำเครื่อง
ที่เรียกว่า IP Address เพื่อเอาไว้อ้างอิงหรือติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ
ในเครือข่าย ซึ่ง IP ในที่นี้ก็คือ Internet Protocol
ตัวเดียวกับใน TCP/IP นั่นเอง
โดเมนเนม
(Domain name system : DNS)
เนื่องจากการติดต่อสื่อสารกันกันในระบบอินเทอร์เน็ตใช้โปรโตคอล
TCP/IP เพื่อสื่อสารกัน โดยจะต้องมี IP address
ในการอ้างอิงเสมอ แต่ IP address นี้ถึงแม้จะจัดแบ่งเป็นส่วนๆ
แล้วก็ยังมีอุปสรรคในการที่ต้องจดจำ ถ้าเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายมีจำนวนมากขึ้น การจดจำหมายเลข
IP ดูจะเป็นเรื่องยาก และอาจสับสนจำผิดได้ แนวทางแก้ปัญหาคือการตั้งชื่อหรือตัวอักษรขึ้นมาแทนที่
IP address ซึ่งสะดวกในการจดจำมากกว่า เช่น IP
address คือ 203.183.233.6 แทนที่ด้วยชื่อ
dusit.ac.th ผู้ใช้งานสามารถ จดจำชื่อ dusit.ac.th ได้ง่ายกว่า การจำตัวเลข
โดเมนที่ได้รับความนิยมกันทั่วโลก
ที่ถือว่าเป็นโดเมนสากล มีดังนี้ คือ
.com ย่อมาจาก Commercial สำหรับธุรกิจ
.edu ย่อมาจาก Education สำหรับการศึกษา
.int ย่อมาจาก International Organization สำหรับองค์กรนานาชาติ
.org ย่อมาจาก Organization สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร
.net ย่อมาจาก Network สำหรับหน่วยงานที่มีเครือข่ายของ ตนเองและทำธุรกิจ
ด้านเครือข่าย
การใช้งานอินเทอร์เน็ต
การใช้อินเตอร์เน็ตเราจำเป็นจะต้องรู้จักโปรแกรมที่ใช้ในการใช้งานอินเทอร์เน็ตเรียกว่า
“บราวเซอร์”
บราวเซอร์ (Browser) คือ เครื่องมือที่ช่วยให้สามารถท่องเที่ยวไปในโลกอินเตอร์เน็ตได้อย่างไร้ขีดกั้นทางด้านพรมแดน
นอกจากนี้ Browser ยังช่วยอำนวยความสะดวกในการเยี่ยมชมเว็บไซต์ต่างๆ
ซึ่งในขณะนี้บริษัทผลิตซอฟแวร์ค่ายต่างๆ นับวันจะทวีการแข่งขันกันในการผลิต Browser
เพื่อสร้างความพึงพอใจให้แก่นักท่องเว็บให้มากที่สุด หน้าตาของ browser
แตกต่างกันไปตามแต่การออกแบบการใช้งานของแต่ละค่ายโปรแกรม ในปัจจุบันบราวเซอร์มีให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเลือกอย่างมากมาย
และได้มีการจัดอันดับที่ได้รับความนิยมในปี 2554 ดังนี้
ตารางการจัดอันดับ Browser ที่ได้รับความนิยมปี 2554
อันดับ 1
|
Firefox
|
www.mozilla.com
|
อันดับ 2
|
Google
Chrome
|
www.google.com/chrome
|
อันดับ 3
|
Internet
Explorer
|
www.microsoft.com/windows/internet-explorer/default.aspx
|
อันดับ 4
|
Opera
|
www.opera.com
|
อันดับ 5
|
Safari
|
www.apple.com/safari
|
อันดับ 6
|
Maxthon
|
www.maxthon.com
|
อันดับ 7
|
Flock
|
www.flock.com
|
อันดับ 8
|
Avant
Browser
|
www.avantbrowser.com
|
อันดับ 9
|
Deepnet
Explorer
|
www.deepnetexplorer.com
|
อันดับ 10
|
PhaseOut
|
www.phaseout.net
|
เมื่อทำความรู้จักกับ Browser แล้วเราต้องศึกษาส่วนประกอบของ Browser ซึ่ง
Browser แต่ละนั้นจะมีส่วนประกอบแตกต่างกันออกไป
ในที่นี้เราจะเรียนรู้ส่วนประกอบของบราวเซอร์ที่มีชื่อว่า Firefox ซึ่งเป็น Browser ได้รับความนิยมมากที่สุดในปี 2554
บริการต่างๆ
บนอินเทอร์เน็ต
1.
เวิลด์ไวด์เว็บ (WWW)
เวิลด์ไวด์เว็บ
หรือเครือข่ายใยแมงมุม เหตุที่เรียกชื่อนี้เพราะว่าเป็นลักษณะของการเชื่อมโยงข้อมูล
จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเรื่อยๆ เวิลด์ไวด์เว็บ
เป็นบริการที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
ในการเรียกดูเว็บไซต์ต้องอาศัยโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ (web browser)
ในการดูข้อมูล เว็บเบราว์เซอร์ที่ได้รับความนิยมใช้ในปัจจุบัน เช่น
โปรแกรม Internet Explorer (IE) , Netscape Navigator
2. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail)
การติดต่อสื่อสารโดยใช้อีเมลสามารถทำได้โดยสะดวก
และประหยัดเวลา หลักการทำงานของอีเมลก็คล้ายกับการส่งจดหมายธรรมดา นั้นคือ
จะต้องมีที่อยู่ที่ระบุชัดเจน ก็คือ อีเมลแอดเดรส (E-mail address)
องค์ประกอบของ e-mail address ประกอบด้วย
1.
ชื่อผู้ใช้ (User name)
2.
ชื่อโดเมน Username@domain_name
เช่น abcd@pcru.ac.th
การใช้งานอีเมล
สามารถแบ่งได้ดังนี้ คือ
1.
Corporate
e-mail คือ อีเมล ที่หน่วยงานต่างๆสร้างขึ้นให้กับพนักงานหรือบุคลากรในองค์กรนั้น
เช่น abcd@pcru.ac.th คือ e-mail ของบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชนบูรณ์ เป็นต้น
2.
Free
e-mail คือ อีเมล ที่สามารถสมัครได้ฟรีตาม web mail ต่างๆ เช่น Hotmail, Yahoo Mail, และ Gmail เป็นต้น
3. บริการโอนย้ายไฟล์
(File
Transfer Protocol)
เป็นบริการที่เกี่ยวข้องกับการโอนย้ายไฟล์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
การโอนย้ายไฟล์สามารถแบ่งได้ดังนี้ คือ
1.
การดาวน์โหลดไฟล์ (Download
File )
การดาวน์โหลดไฟล์
คือ การรับข้อมูลเข้ามายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้
ในปัจจุบันมีหลายเว็บไซต์ที่จัดให้มีการดาวน์โหลดโปรแกรมได้ฟรีเช่น www.download.com
2. การอัพโหลดไฟล์ (Upload File) การอัพโหลดไฟล์คือการนำไฟล์ข้อมูลจากเครื่องของผู้ใช้ไปเก็บไว้ในเครื่องที่ให้บริการ
(Server) ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เช่น กรณีที่ทำการสร้างเว็บไซต์
จะมีการอัพโหลดไฟล์ไปเก็บไว้ในเครื่องบริการเว็บไซต์ (Web server) ที่เราขอใช้บริการพื้นที่ (web server)
โปรแกรมที่ช่วยในการอัพโหลดไฟล์เช่น FTP Commander
4. บริการสนทนาบนอินเทอร์เน็ต
(Instant Message)
การสนทนาบนอินเทอร์เน็ตคือ
การส่งข้อความถึงกันโดยทันทีทันใด นอกจากนี้ยังสามารถส่งสัญลักษณ์ต่างๆ อาทิ
รูปภาพ ไฟล์ข้อมูลได้ด้วย
การสนทนาบนอินเทอร์เน็ตเป็นโปรแกรมที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน
โปรแกรมประเภทนี้ เช่น โปรแกรม MSN Messenger, Yahoo Messenger, Skype เป็นต้น
5. บริการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
(Search Engine)
โดยทั่วไปลักษณะการสืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตสามารถแบ่งลักษณะรูปแบบการค้นหา
เป็น 3 ลักษณะ คือ
5.1
Web Directory คือ การค้นหาโดยการเลือก Directory ที่จัดเตรียมและแยกหมวดหมู่ไว้ให้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งบรรจุเนื้อหาหรือเว็บไซต์ต่างๆ
ไว้เป็นหมวดหมู่หรือกลุ่มใหญ่ ๆ และแต่ละกลุ่มจะแบ่งเป็นเรื่องย่อยๆ ต่อไปเรื่อยๆ
เหมือนกับหลักการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุด ข้อดีคือ ช่วยให้ผู้ใช้ได้ข้อมูลที่ตรงกับความต้องการ
เนื่องจากนำข้อมูลมาจัดหมวดหมู่ไว้อย่างเป็นระบบ และสามารถกำหนดค้นได้ง่ายในหัวข้อโดยเลือกจากรายการที่ทำไว้แล้ว website ที่ให้บริการ web directory เช่น www.yahoo.com, www.sanook.com
5.2 การค้นหาแบบดัชนี (Index)
หรือ สำคัญ (Keyword) คือ การค้นหาข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Search โดยการเอาคำที่เราต้องการค้นหาไปเทียบกับเว็บไซต์ต่างๆ
ว่ามีเว็บไซต์ใดบ้างที่มีคำที่เราต้องการค้นหา โดยการค้นจากข้อความในเว็บเพจที่ได้ผ่านการสำรวจมาแล้ว
จะอ่านข้อความ ประมาณ 200-300 ตัวอักษรแรกของเว็บเพจ
วิธีการค้นหาของ Search Engine ประเภทนี้จะให้ความสำคัญกับการเรียงลำดับข้อมูลก่อนหลัง
การค้นหาข้อมูล การค้นหาวิธีนี้จะมีความรวดเร็วมาก แต่มีความละเอียดในการจัดแยกหมวดหมู่ของข้อมูลค่อนข้างน้อย
เนื่องจากไม่ได้คำนึงถึงรายละเอียดของเนื้อหาเท่าที่ควร แต่ถ้าต้องการแนวทางด้านกว้างของข้อมูล
การค้นหาแบบนี้จะเหมาะสมที่สุด
website ที่ให้บริการ search engine เช่น www.google.co.th
5.3
Metasearch คือ ลักษณะการสืบค้นหาข้อมูลจะมีลักษณะเดียวกันกับ search
engine แต่จะทำการส่งคำที่ต้องการไปค้นหาในเว็บไซต์ที่ให้บริการสืบค้นข้อมูลอื่นๆ
อีก ถ้าข้อมูลที่ได้มีซ้ำกัน ก็จะแสดงเพียงรายการเดียว จุดเด่นของการค้นหาด้วยวิธีการนี้
คือ สามารถเชื่อมโยงไปยัง Search Engine ประเภทอื่นๆ
และยังมีความหลากหลายของข้อมูล แต่การค้นหาด้วยวิธีนี้มีจุดด้อย คือ
วิธีการนี้จะไม่ให้ความสำคัญกับขนาดเล็กใหญ่ของตัวอักษร และมักจะผ่านเลยคำประเภท Natural
Language (ภาษาพูด) ดังนั้น หากจะใช้ Search
Engine ประเภทนี้จะพบกับข้อบกพร่องเหล่านี้ด้วย
6. บริการกระดานข่าวหรือ เว็บบอร์ด (Web
board)
เว็บบอร์ด เป็นศูนย์กลางในการแสดงความคิดเห็น มีการตั้งกระทู้ ถาม-ตอบ
ในหัวข้อที่สนใจ เว็บบอร์ดของไทยที่เป็นที่นิยมและมีคนเข้าไปแสดงความคิดเห็นมากมาย
คือ เว็บบอร์ดของพันธ์ทิพย์ (www.pantip.com)
7.
ห้องสนทนา (Chat Room)
ห้องสนทนา คือ การสนทนาออนไลน์อีกประเภทหนึ่ง ที่มีการส่งข้อความสั้นๆ
ถึงกัน เพื่อทักทายกันระหว่างผู้ที่ใช้เข้าใช้เว็บไซต์ การเข้าไปสนทนาจำเป็นต้องเข้าไปในเว็บไซต์ที่ให้บริการห้องสนทนาเช่น
www.sanook.com www.pantip.com
8.
บริการสังคมออนไลน์ (Social Media
หรือ Social Network)
Social Media หมายถึงสังคมออนไลน์ที่มีผู้ใช้เป็นผู้สื่อสาร
หรือเขียนเล่า เนื้อหา เรื่องราว ประสบการณ์ บทความ รูปภาพ และวิดีโอ ที่ผู้ใช้เขียนขึ้นเอง ทำขึ้นเอง หรือพบเจอจากสื่ออื่นๆ
แล้วนำมาแบ่งปันให้กับผู้อื่นที่อยู่ในเครือข่ายของตน ผ่านทางเว็บไซต์ Social
Network ที่ให้บริการบนโลกออนไลน์ปัจจุบัน การสื่อสารแบบนี้
จะทำผ่านทาง Internet และโทรศัพท์มือถือเท่านั้น
บริการของ Social Media
โดยทั่วไปมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งกระดานความคิดเห็น
(Discussion boards), เว็บบล็อก (Webblogs), วิกิ (wikis), Podcasts, รูปภาพ และวิดีโอ
เป็นต้น
การแนะนำบริการสังคมออนไลน์
เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) เป็นรูปแบบของเว็บไซต์ ในการสร้างเครือข่ายสังคม สำหรับผู้ใช้งานในอินเทอร์เน็ต เขียนและอธิบายความสนใจ และกิจการที่ได้ทำ
และเชื่อมโยงกับความสนใจและกิจกรรมของผู้อื่น
ในบริการเครือข่ายสังคมมักจะประกอบไปด้วย การแช็ต ส่งข้อความ ส่งอีเมล วิดีโอ เพลง อัปโหลดรูป บล็อก การทำงานคือ คอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลพวกนี้ไว้ในรูปฐานข้อมูล sql ส่วน video หรือ
รูปภาพ อาจเก็บเป็น ไฟล์ก็ได้ บริการเครือข่ายสังคมที่เป็นที่นิยมได้แก่ ไฮไฟฟ์ มายสเปซ เฟซบุ๊ก ออร์กัต มัลติพลาย โดยเว็บเหล่านี้มีผู้ใช้มากมาย เช่น เฟสบุ๊คเป็นเว็บไซต์ที่คนไทยใช้มากที่สุด
ในขณะที่ออร์กัตเป็นที่นิยมมากที่สุดในประเทศอินเดีย ปัจจุบัน
บริการเครือข่ายสังคม มีผลประโยชน์คือหาเงินจากการโฆษณา
การเล่นเกมโดยใช้บัตรเติมเงิน
เนื่องจากมีการให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์อยู่มากมาย
จึงเลือกแนะนำเว็บไซต์ที่มีความนิยมสูงในประเทศไทย ดังนี้
- Facebook
เฟซบุ๊ก (Facebook) เป็นบริการเครือข่ายสังคมและเว็บไซต์ เปิดใช้งานเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 ดำเนินงานและมีเจ้าของคือ
บริษัท เฟซบุ๊ก (Facebook, Inc.) จากข้อมูลเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2010 เฟซบุ๊กมีผู้ใช้ประจำ
500 ล้านบัญชี ผู้ใช้สามารถสร้างข้อมูลส่วนตัว
เพิ่มรายชื่อผู้ใช้อื่นในฐานะเพื่อนและแลกเปลี่ยนข้อความ
รวมถึงได้รับแจ้งโดยทันทีเมื่อพวกเขาปรับปรุงข้อมูลส่วนตัว
นอกจากนั้นผู้ใช้ยังสามารถร่วมกลุ่มความสนใจส่วนตัว จัดระบบตาม สถานที่ทำงาน
โรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือ อื่น ๆ
ชื่อของเฟซบุ๊กนั้นมาจากชื่อเรียกภาษาปากของสมุดที่ให้กับนักเรียนเมื่อเริ่มเแรกเรียนในสถาบันอุดมศึกษา
ที่มอบให้โดยคณะบริหารมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา
เพื่อช่วยให้นักเรียนสามารถรู้จักผู้อื่นได้ดีมากขึ้น
เฟซบุ๊กอนุญาตให้ใครก็ได้เข้าสมัคร
-
Twitter
ทวิตเตอร์ (Twitter) เป็นบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์จำพวกไมโครบล็อก โดยผู้ใช้สามารถส่งข้อความยาวไม่เกิน
140 ตัวอักษร ว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่ หรือ ทวีต (tweet - เสียงนกร้อง)
ทวิตเตอร์ก่อตั้งขึ้นโดย แจ็ก คอร์ซีย์ ,บิซ สโตน และ อีวาน
วิลเลียมส์ เจ้าของบริษัท Obvious Corp ที่ซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 2006
ข้อความอัปเดตที่ส่งเข้าไปยังทวิตเตอร์จะแสดงอยู่บนเว็บเพจของผู้ใช้คนนั้นบนเว็บไซต์
และผู้ใช้คนอื่นสามารถเลือกรับข้อความเหล่านี้ทางเว็บไซต์ทวิตเตอร์, อีเมล, เอสเอ็มเอส, เมสเซนเจอร์ (IM),RSS, หรือผ่านโปรแกรมเฉพาะอย่าง Twitterific Twhirl ปัจจุบันทวิตเตอร์มีหมายเลขโทรศัพท์สำหรับส่งเอสเอ็มเอสในสามประเทศ คือ
สหรัฐอเมริกา แคนาดา และสหราชอาณาจักร
- Google+
กูเกิล+ (Google+) เป็นบริการเครือข่ายสังคมให้บริการโดยกูเกิล โดยเปิดให้ใช้งานครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน
พ.ศ. 2554 ผู้ที่จะเข้ามาทดลองใช้ต้องได้รับเชิญจากบุคคลที่ใช้อยู่เท่านั้น
อย่างไรก็ตามระบบการเชิญถูกยุติเนื่องจากมีการใช้งานเป็นจำนวนมากเกินกว่าที่ระบบจะรองรับได้
ภายหลังในวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554 จึงเปิดให้ผู้ใช้ทั่วไปได้ใช้งาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น